Flag

การแปลงน้ำหนัก

ปอนด์ กิโลกรัม




การแปลงส่วนสูง

นิ้ว เซนติเมตร


จำนวนผู้ที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2011

เครื่องมือคำนวณ

ตอบคำถามข้างล่างเพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักที่ระยะเวลา 10 ปี

ประเทศ: สหราชอาณาจักร
ชื่อ / รหัส:
แบบสอบถาม:
1.
อายุ (ระหว่าง 40-90 ปี) หรือวัน เดือน ปีเกิด
อายุ:
วัน เดือน ปีเกิด:
ปี ค.ศ.:
เดือน:
วันที่:
2.
เพศ
3.
น้ำหนัก (กิโลกรัม)
4.
ส่วนสูง (เซนติเมตร)
5.
เคยเกิดกระดูกหักมาก่อน
6.
บิดามารดาเกิดกระดูกสะโพกหัก
7.
สูบบุหรี่
8.
กลูโคคอร์ติคอยด์
9.
ข้ออักเสบรูมาตอยด์
10.
โรคกระดูกพรุนทุติยภูมิหรือโรคกระดูกพรุนที่มีสาเหตุ
11.
ดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 3 ยูนิตต่อวันขึ้นไป
12.
ความหนาแน่นของกระดูกคอสะโพก (กรัมต่อตารางเซนติเมตร)

เครื่องมือพิมพ์และข้อมูล

ปัจจัยเสี่ยง

สำหรับปัจจัยเสี่ยงทางคลินิก ถ้ามีให้ตอบ "ใช่" และถ้าไม่มีให้ตอบ "ไม่" ในกรณีที่ไม่ตอบหรือปล่อยว่าง โปรแกรมจะคำนวณโดยถือว่าไม่มีปัจจัยเสี่ยงนั้นๆ สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ใช้ในการคำนวณมีดังนี้


อายุ โมเดลนี้ใช้สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-90 ปีเท่านั้น ถ้าลงอายุน้อยกว่า 40 ปี โปรแกรมจะคำนวณให้อัตโนมัติโดยใช้อายุที่ 40 ปี และถ้าลงอายุมากกว่า 90 ปี โปรแกรมจะคำนวณให้อัตโนมัติโดยใช้อายุที่ 90 ปี
เพศ เลือกเพศชายหรือหญิง
น้ำหนัก หน่วยเป็นกิโลกรัม
ส่วนสูง หน่วยเป็นเซนติเมตร
เคยเกิดกระดูกหักมาก่อน สำหรับการเกิดกระดูกหักมาก่อนนั้นให้ถือเอากระดูกหักที่เกิดขึ้นเองหรือจากการได้รับแรงกระแทกที่ไม่รุนแรง โดยให้ตอบ "ใช่" ถ้าเคยเกิดกระดูกหักมาก่อน และตอบ "ไม่" ถ้าไม่เคยเกิดกระดูกหักมาก่อน (ดูเพิ่มเติมในข้อพิจารณาสำหรับปัจจัยเสี่ยง)
บิดามารดาเกิดกระดูกสะโพกหัก ให้ตอบ "ใช่" ถ้ามีบิดาหรือมารดาของผู้ป่วยมีประวัติกระดูกสะโพกหัก
สูบบุหรี่ ให้พิจารณาจากประวัติการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน (ดูเพิ่มเติมในข้อพิจารณาสำหรับปัจจัยเสี่ยง)
กลูโคคอร์ติคอยด์ ให้ตอบ "ใช่" ในกรณีที่ผู้ป่วยยังได้รับยากลูโคคอร์ติคอยด์หรือได้รับยาเพรดนิโซโลนชนิดรับประทานขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไปเป็นระยะเวลานานกว่า 3 เดือน (หรือเทียบเทียบเท่า) (ดูเพิ่มเติมในข้อพิจารณาสำหรับปัจจัยเสี่ยง)
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ให้ตอบ "ใช่" ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ส่วนในกรณีข้ออักเสบอื่นๆ ให้ตอบ "ไม่" (ดูเพิ่มเติมในข้อพิจารณาสำหรับปัจจัยเสี่ยง)
โรคกระดูกพรุนทุติยภูมิหรือโรคกระดูกพรุนที่มีสาเหตุ ให้ตอบ "ใช่" ถ้าผู้ป่วยมีโรคที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 โรค osteogenesis imperfecta ในผู้ใหญ่ ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นพิษระยะยาวที่ไม่ได้รับการรักษา ผู้ที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ (hypogonadism) หรือผู้ที่ประจำเดือนหมดก่อนอายุ 45 ปี ผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง ผู้ที่มีภาวะการดูดซึมอาหารผิดปกติ (malabsorption) และผู้ที่มีโรคตับเรื้อรัง
ดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 3 ยูนิตต่อวันขึ้นไป ให้ตอบ "ใช่" ถ้าผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 3 ยูนิตต่อวันขึ้นไป (โดยปริมาณ 1 ยูนิตของแอลกอฮอล์เท่ากับ 8-10 กรัมของแอลกอฮอล์ ซึ่งเทียบเท่ากับเบียร์ 285 มิลลิิลิตร เหล้า 30 มิลลิลิตร ไวน์ 120 มิลลิลิตร หรือ aperitif 60 มิลลิลิตร) (ดูเพิ่มเติมในข้อพิจารณาสำหรับปัจจัยเสี่ยง)
ความหนาแน่นของกระดูก สำหรับความหนาแน่นของกระดูก ให้เลือกยี่ห้อของเครื่อง DXA หลังจากนั้นให้ใส่ค่าความหนาแน่นของกระดูกคอสะโพก (femoral neck BMD หน่วยเป็นกรัมต่อตารางเซนติเมตร) ท่านอาจใส่ค่า T-score ได้ และสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีผลตรวจความหนาแน่นของกระดูก ท่านไม่จำเป็นต้องเติมอะไรในช่องว่าง โปรแกรมจะคำนวณให้เช่นกัน (ดูเพิ่มเติมในข้อพิจารณาสำหรับปัจจัยเสี่ยง)

ข้อพิจารณาสำหรับปัจจัยเสี่ยง

เคยเกิดกระดูกหักมาก่อน

สำหรับประวัติอดีตของการเกิดกระดูกสันหลังหัก ในกรณีที่มีกระดูกสันหลังหักจากการตรวจเอกซเรย์ (radiographic หรือ morphometric vertebral fracture) ให้ถือว่าเคยเกิดกระดูกหักมาก่อน ส่วนในผู้ที่เคยเกิดกระดูกสันหลังหักที่มีอาการทางคลินิกหรือกระดูกสะโพกหักจะถือว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่รุนแรงมากกว่า ดังนั้นในการคำนวณโอกาสเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักอาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้ยังพบว่าโอกาสเสี่ยงจะต่ำกว่าความเป็นจริงในกรณีที่เคยกระดูกหักหลายครั้งในอดีตเช่นกัน

สูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ กลูโคคอร์ติคอยด์

ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับขนาดและปริมาณที่ผู้ป่วยได้รับ ในกรณีที่ได้รับขนาดและปริมาณมากกว่าก็จะมีความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในโมเดลจะใช้ค่าเฉลี่ยในการคำนวณ ดังนั้นท่านจึงควรพิจารณาด้วยว่าผู้ป่วยรายที่ท่านคำนวณนั้นได้รับขนาดและปริมาณน้อยหรือมากกว่าค่าเฉลี่ยหรือไม่

ข้ออักเสบรูมาตอยด์

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatiod arthritis) เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกหัก อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติอาจมีความสับสนกับโรคข้ออักเสบชนิดอื่นๆ ที่พบบ่อย เช่น โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) เป็นต้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการลงข้อมูล จึงควรให้การวินิจฉัยที่แน่นอนโดยอาศัยลักษณะทางคลินิกร่วมกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ความหนาแน่นของกระดูก

ตำแหน่งและค่าอ้างอิงของความหนาแน่นของกระดูกจะใช้ที่ตำแหน่งคอสะโพกเท่านั้น สำหรับค่า T-scores จะอ้างอิงจากข้อมูลของ NHANES ในผู้หญิงอายุระหว่าง 20-29 ปี และใช้เช่นเดียวกันในผู้ชาย